ทริปไฮไลท์เมืองนคร-เที่ยวในตัวเมืองนครศรีธรรมราช (Nakhonsithammarat City Tour)
ทริปนี้สำหรับท่านที่พักอยู่ในเมืองนครศรีธรรมราชอยู่แล้ว หรือจะให้ไปรับจากสนามบินมาก็ได้ครับ แล้วค่อยไปทัวร์ จุดท่องเที่ยวในตัวเมืองนครศรีธรรมราชหลักๆก็มีดังนี้ ครับ
วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร
พระบรมธาตุเมืองนคร ตามตำนานเล่ากันว่าสร้างมากว่า 1,700 ปี โดยเจ้าชายทนทกุมารและพระนางเหมชาลา จากนั้นผ่านการบูรณะมาหลายยุคหลายสมัยและเป็นพระบรมธาตุเจดีย์ที่อยู่คู่กับเมืองนครศรีธรรมราชมาตั้งแต่โบราณจนถึงวันนี้ กรมศิลปากรโดยสำนักศิลปากรที่ 14 นครศรีธรรมราชได้ทำการขุดค้นทางโบราณคดีในพื้นที่วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหารอีกหนึ่งจุดเมื่อวันที่ 4-6 ตุลาคม 2559 คือบริเวณด้านทิศเหนือของ “วิหารคด” หรือ “วิหารพระด้าน”
“วิหารคด” หรือ “วิหารพระด้าน” หมายถึงวิหารที่สร้างเรียงต่อกันหลายหลังเพื่อล้อมสิ่งก่อสร้างที่เป็นประธานของพื้นที่ปูชนียสถาน มีลักษณะหักเป็นข้อศอก โดยมากตั้งอยู่สี่มุมของเขตพุทธาวาส ภายในวิหารนี้มีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่ โดยทั่วไปนิยมสร้างติดกับองค์เจดีย์ เพื่อให้ภิกษุสงฆ์ใช้เดินจงกรมหรือปฏิบัติกรรมฐาน หรือให้พุทธศาสนิกชนนั่งฟังธรรมในวันธรรมสวนะหรือวันสำคัญทางพุทธศาสนา แต่สำหรับกรณีวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร วิหารคด (หรือวิหารพระด้าน) ไม่ได้สร้างติดองค์พระเจดีย์ แต่สร้างล้อมรอบองค์พระเจดีย์ในลักษณะเป็นระเบียงสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีผนังทึบอยู่ด้านนอก มีโถงโปร่งอยู่ด้านใน ประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นไว้ทุกห้องเสา รวม 165 องค์ ตำนานพระบรมธาตุนครศรีธรรมราชได้บันทึกว่า วิหารคดหรือพระระเบียงหลังนี้สร้างเมื่อมหาศักราช 1415 (ตรงกับ พ.ศ.2036 ในรัชสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 แห่งกรุงศรีอยุธยา) วัฒนธรรมการสร้างวิหารคดได้รับการสืบทอดจากวัฒนธรรมเขมรโดยผ่านจากกรุงศรีอยุธยา
หากผลทดสอบหาอายุของอิฐและร่องรอยจากการขุดค้นทางโบราณคดีที่สำนักศิลปากรดำเนินครั้งนี้ออกมา ก็จะเป็นหลักฐานอีกชิ้นหนึ่งที่ช่วยยืนยันอายุการสร้างวิหารคดหลังนี้ได้ นอกเหนือไปจากที่เราทราบพอสังเขปจากตำนานพระบรมธาตุฯที่กล่าวแล้วข้างต้น
ผศ.ฉัตรชัย ศุกระกาญจน์ ประธานกรรมการฝ่ายวิชาการ รายงาน
อ้างอิงจาก : จดหมายข่าว วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหารขึ้นบัญชีสู่มรดกโลก ฉบับที่ 19 ประจำวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2559
ในบริดวณเดียวกับวัดพระมหาธาตุ จะมีหอพระพุทธบาทจำลอง สามารถขึ้นไปสักการะบูชาได้ครับ
รอยพระพุทบาทจำลอง
นอกจากนี้ด้านข้างของวัดพระมหาธาตุมีร้านขายของที่ระลึกเพียบเลยครับ มีสินค้าพวกเครื่องถม เครื่องเงินมากมาย พวกยาหม่อง ยาลม ยานวดคลายเส้น พวกขนมขบเคี้ยวอย่างขนมลา ขนมพอง กะละแม ก็เพียบ รวมทั้งพระเครื่องก็มีหลายร้านมากครับ สามารถซื้อติดไม้ติดมือกันได้เลย
ที่ถัดไปคือกำแพงเมืองเก่านครศรีธรรมราช เป็นแนวกำแพงเดิมของเมืองนครศรีธรรมราชอยู่บริเวณสนามหน้าเมืองนครศรีธรรมราชในปัจจุบัน
กำแพงเมืองนครศรีธรรมราช เป็นกำแพงเมืองที่เคยปกป้องเมืองนครศรีธรรมราชจากข้าศึก เป็นโบราณสถานที่สำคัญของจังหวัด ป็นเครื่องแสดงถึงความเก่าแก่ ความแข็งแกร่ง ความเจริญรุ่งเรือง และประวัติศาสตร์อันยาวนาน ปัจจุบันได้รับการบูรณะใหม่ให้ แข็งแรงและสวยงาม เพื่อพัฒนาเป็นอีก 1 สถานที่ท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์อันทรงคุณค่า มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีที่ตั้งอยู่ หลายจุดด้วยกัน แต่ที่เหลือให้ชม คือ กำแพงเมืองด้านทิศเหนือ อยู่ริมคลองหน้าเมือง ถนนมุมป้อม ความแข็งแกร่งความ เจริญรุ่งเรือง และประวัติศาสตร์อันยาวนาน กำแพงเมืองนครศรีธรรมราชตั้งอยู่ริมคลอง หน้าเมือง ถนน มุมป้อม อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช การสร้างปรากฏหลักฐาน จากตำนานเมืองนครศรีธรรมราชว่าสร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าศรีธรรมาโศกราช เมื่อตั้งเมืองขึ้นที่ หาด ทรายแก้ว แล้วจึงสร้างกำแพง เมืองเป็นกำแพงดิน มีคูล้อมรอบสันนิษฐานว่า มีการบูรณะกำแพง เมืองส่วนต่างๆ กันมาหลายครั้งทุกครั้ง คงพยายามรักษา แนวกำแพงเดิมไว้
ตามประวัติกล่าวว่าใน พ.ศ.1950 สมเด็จพระราเมศวรแห่งกรุงศรีอยุธยาตีล้านนาไทยได้ได้กวาดต้อนผู้คนมาไว้ที่เมืองนครศรีธรรมราช ชาวล้านนาไทย จึงนำเอาแบบอย่างการสร้างกำแพงเมืองมาจากเมืองเชียงใหม่ มาซ่อมกำแพงเมืองนครศรีธรรมราช โดยทำเป็น กำแพงแบบปักเสาพูน ดิน ในราว พ.ศ. 2100 เมื่อชาวโปรตุเกสนำวิธีการสร้างแบบก่ออิฐ และตั้งฐานปืนใหญ่เข้ามากำแพงเมืองนครศรีธรรมราช ได้ถูดดัดแปลงเป็นกำแพงก่ออิฐขึ้นเพื่อให้เป็นป้อมปราการที่แข็งแรง ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช นายช่างวิศวกรและสถาปนิก ของฝรั่งเศสเข้ามาเมืองไทย จึงมีการสร้างกำแพงเมืองตามแบบ ชาโต (Chateau) กำแพงเมืองนครศรีธรรมราชที่ เห็นอยู่ในปัจจุบัน จึงเป็นกำแพงเมืองที่สร้างขึ้นสมัยพระนารายณ์มหาราชในสมัย พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยซึ่งตรง กับสมัยที่พระยานครศรีธรรมราช(พัฒน์) ครองเมืองนครศรีธรรมราช ได้มี การซ่อมกำแพงอีกครั้ง เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) ครั้งเป็นพระยาสุขุมนัยวินิต ข้าหลวง สมุหเทศาภิบาล สำเร็จราชการมณฑลนครศรีธรรมราช สั่งให้รื้อกำแพง เมืองซึ่งชำรุดแต่ยังคงเห็นรูปทรงและใบ เสมาชัดเจน เอาอิฐ มาทำถนนที่เลียบริมกำแพงด้านในทุกด้าน
กำแพงเมืองนครศรีธรรมราชมีลักษณะเป็นรูป 4 เหลี่ยมผืนผ้า มีอาณาเขตดังนี้
1.ด้านทิศเหนือ กว้าง 11 เส้น 10 วา ปัจจุบันแนวซากกำแพงด้านนี้ ทิศตะวันออก จากวัดมุมป้อมทิศตะวันตกจดมุม ของเรือน จำกลางนครศรีธรรมราช มีคลองหน้าเมืองเป็นคูเมือง
2.ด้านทิศใต้ กว้าง 11 เส้น 10 วาปัจจุบันแนวซากกำแพงเมืองด้าน นี้ ทิศตะวัน ออกจากโรงเรียอนุบาลโสภณวิทยา โรงเรียนเทคนิคพานิชยการโสภณ ทิศตะวันตกจดหัวท่า มีคลองป่าเหล้าเป็นคูเมือง
3. ทิศตะวันออก จากโรงเรียอนุบาลโสภณวิทยา โรงเรียนเทคนิคพานิชยการโสภณ ทิศตะวันตกจดหัวท่า มีคลองป่าเหล้าเป็นคูเมือง
4.ด้านทิศตะวันออก ยาว 55 เส้น 5 วา ปัจจุบันแนวซากกำแพงเมือง ด้านนี้ ทิศ เหนือ จากวัดมุมป้อม ทิศใต้จดโรงเรีย อนุบาล โสภณวิทยา โรงเรียนเทคนิคพานิชยการโสภณ คูเมืองด้านนี้ตื้นเขินเป็นส่วนใหญ่ ประชาชนได้สร้างบ้านเรือนอยู่อาศัย
5.ด้านทิศตะวันตก ยาว 55 ส้น 5 วา ปัจจุบันแนวซากกำแพงเมืองด้านนี้ ทิศ เหนือจากมุมเรือนจำกลางนครศรีธรรมรา ทิศ ใต้จดหัวท่า มีคลองจากหัวท่า มาตามแนวกำแพงมาเลี้ยวขาวที่มุมเรือนจำเป็นคลองหน้าเมือง เป็นคูเมือง
ในบริเวณแนวำแพงเมืองเก่านครศรีธรรมราชก็มีสวนสาธารณะศรีธรรมโศกราช ที่ตรงนี้เมื่อก่อนคือเรือนจำกลางนครศรีธรรมราช (ปัจจุบันเรือนจำย้ายไปอยู่ที่อำเภอพระพรหม) ตอนนี้ตกแต่งเป็นสวนสวยงาม
ถายในสวนก็ยังมีแนวกำแพงเมืองเก่าให้เห็นด้วยครับ
อนุสาวรีย์สมเด็จพระศรีธรรมโศกราช
พระเจ้าศรีธรรมาโศกราช เป็นกษัตริย์นครศรีธรรมราชโบราณในสมัยที่ยังเรียกว่า “ตามพรลิงค์” พระองค์เป็นปฐมกษัตริย์ของราชวงศ์ปัทมวงศ์ พระราชประวัติของพระองค์กล่าวเป็น ๓ นัยด้วยกัน คือ
(๑) จากตำนานเมืองนครศรีธรรมราชกล่าวว่า พระเจ้าศรีธรรมาโศกราชเป็นกษัตริย์ปกครองเมืองอื่นมาก่อน ภายหลังเกิดโรคห่าระบาดในเมืองนั้นจนทำให้ผู้คนล้มตายลงเป็นจำนวนมาก จนต้องอพยพผู้คนที่เหลือลงเรือหนีตายมาขึ้นที่หาดทรายแก้ว และได้ตั้งบ้านเมืองขึ้น ณ ที่นั้น และขนานนามว่า”นครศรีธรรมราชมหานคร” เมื่อสร้างเมืองเสร็จก็ได้สร้างสถูปเจดีย์สำหรับบรรจุพระบรมสารีริกธาตุของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าขึ้นที่เมืองนั้น
(๒) จากตำนานเมืองนครศรีธรรมราชอีกฉบับหนึ่งคือฉบับที่พบที่วัดเวียงสระ อำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี กับฉบับที่พบที่ทุ่งตึก อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา กล่าวความตรงกันว่า พระเจ้าศรีธรรมาโศกราชนั้นเป็นพราหมณ์ชาวอินเดีย เดิมชื่อว่า “พราหมณ์มาลี” ได้อพยพพรรคพวกลงเรือสำเภาหลายร้อยลำ หนีการรุกรานพวกอิสลามจากอินเดียมาขึ้นบกที่บ้านทุ่งตึก ใกล้เมืองตะกั่วป่า ฝั่งทะเลตะวันตก ในชั้นแรกได้ตั้งบ้านเมืองขึ้นที่นั่น อภิเษกพราหมณ์มาลีขึ้นเป็นกษัตริย์ถวายพระนามว่า “พระเจ้าศรีธรรมาโศกราช” พราหมณ์มาลาผู้เป็นน้องเป็นพระมหาอุปราช การอพยพครั้งนั้นพวกอินเดียได้นำเอาพระทันตธาตุมาด้วยพวกอินเดียสร้างเมืองทุ่งตึกไม่ทันเสร็จก็ถูกพวกอิสลามตามตีแตกพ่ายอีก จนต้องอพยพทิ้งบ้านเมือง หนีขึ้นไปตามลำน้ำตะกั่วป่า ข้ามเขาสก ล่องเลียบริมฝั่งแม่น้ำพุมดวงมาทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือมาตั้งมั่นอยู่ที่บ้านน้ำรอบ อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีท่าทีว่าจะตั้งราชธานีที่นั่นอีก แต่เพราะเหตุภูมิประเทศไม่อำนวยทำให้พวกอินเดียที่อพยพมานี้ผิดน้ำผิดอากาศ จนเกิดโรคระบาดขึ้น ทำให้ต้องอพยพผู้คนต่อไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ไปตั้งถิ่นฐานที่เชิงเขาชวาปราบปลายคลองสินปุน อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ แต่ก็มีสาเหตุคล้าย ๆ กับที่บ้านน้ำรอบ อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี จึงจำเป็นต้องเคลื่อนย้ายต่อไปเพื่อหาชัยภูมิใหม่ได้อพยพขึ้นมาทางทิศตะวันออกเฉียงเหนืออีกครั้งและได้มาตั้งหลักแหล่งที่บ้านเสียงสระ อำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี แต่ก็อยู่ได้ไม่นานเพราะโรคห่ายังไม่ขาดหาย ต้องรื้อถอนต่อไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ จนพบหาดทรายใหญ่อยู่ริมทะเล ภูมิประเทศต้องลักษณะชัยภูมิที่ดี คือมีลำน้ำและที่ราบเหมาะสำหรับการเกษตร จึงได้สร้างราชธานีขึ้น ณ ที่นั่น โดยสร้างกำแพงเมือง ปราสาทราชวัง เทวสถาน และพระมหาธาตุเจดีย์บรรจุพระทันตธาตุที่เอามาจากอินเดียด้วย
(๓) ขจร สุขพานิช ได้เสนอเรื่อง “ราชวงศ์ศรีธรรมาโศกราช” โดยอ้างหลักฐานจากจารึกหลักหนึ่งที่พบจากจังหวัดนครสวรรค์ ประกอบกับการศึกษาจารึกวัดหัวเวียง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานีและหลักฐานจากตำนานเมืองนครศรีธรรมราชมาประกอบกัน ทำให้ได้ความเลา ๆ ว่า ราชวงศ์นี้อุบัติขึ้นในลุ่มน้ำเจ้าพระยามาก่อนแล้ว จะเป็นด้วยเหตุผลกลใดไม่ปรากฏราชวงศ์นี้มีเหตุให้ต้องทิ้งราชธานีเดิม ลงไปแสวงหาที่พักพิงใหม่ทางปักษ์ใต้ และขณะเดินทางลงใต้ได้พบและทำสัตย์ปฏิญาณกับราชวงศ์อู่ทอง ได้แบ่งอาณาเขตปกครองซึ่งกันและกัน และสัญญาจะเอื้อเฟื้อช่วยเหลือกันในยามคับขัน และลงความเห็นว่าราชธานีน่าจะตั้งอยู่ลพบุรีมาก่อน จากสาเหตุดังกล่าว พอจะอนุมานได้ว่า พระเจ้าศรีธรรมาโศกราชนั้นเป็นผู้ที่อพยพมาจากถิ่นอื่นและเป็นผู้ที่มีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา เมื่อได้สร้างบ้านเมืองขึ้น จึงนำเอาพระพุทธศาสนารวมทั้งลัทธิความเชื่อในศาสนาพราหมณ์มาด้วย พระนามว่า”ศรีธรรมาโศกราช” นี้ ภายหลังได้ใช้เป็นพระนามหรือนามที่เป็นอิสริยศของพระมหากษัตริย์หรือเจ้าเมืองที่ปกครองเมืองนี้ตลอดมาพระเจ้าศรีธรรมาโศกราชได้สร้างเมืองนครศรีธรรมราชขึ้นเมื่อราว ๆ พ.ศ. ๑๐๙๘ ในชั้นแรกคนทั่วไปเรียกว่า “สิริธัมนคร” ในศิลาจารึกเมืองไชยาเรียกว่า “ตามพรลิงค์” หรือในจดหมายเหตุของจีนเรียกว่า “ตั้งมาหลิ่ง” เป็นต้น การที่เรียกเมืองตามพรลิงค์ว่า “นครศรีธรรมราช” นี้ปรากฏในศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช (หลักที่ ๑)เป็นครั้งแรกชื่อนี้มีเค้ามูลที่จะเชื่อถือได้ว่า เป็นราชอิสริยยศที่ถวายแด่องค์พระมหากษัตริย์ผู้ครองนครศรีธรรมราชว่า “ศรีธรรมราช” คงจะถือเป็นประเพณีสืบต่อเนื่องกันมาหลายองค์ จึงเป็นเหตุให้ไทยขนานนามราชธานีนี้ตามพระนามราชอิสริยศของกษัตริย์ผู้ครองนครนี้ว่า”นครศรีธรมราช”ตั้งแต่ครั้งสุโขทัยเป็นต้นมาเมืองที่ทรงสร้างดังกล่าวเป็นมหานครใหญ่มีอำนาจมาก มีกำแพงปราการโดยรอบทั้งชั้นนอกชั้นใน นอกจากนั้นยังมีเมืองขึ้น ๑๒ หัวเมือง เรียกว่า ๑๒ นักษัตร ตั้งอยู่โดยรอบพระราชอาณาเขต ด้านศาสนจักรได้ทรงสร้างสิ่งสำคัญคือสถูปเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุขึ้น จึงนับได้ว่าพระเจ้าศรีธรรมาโศกราชเป็นผู้สร้างเมืองนครศรีธรรมราช และสร้างพระสถูปเจดีย์ที่เรียกว่า “พระบรมธาตุ”ปูชนียสถานที่สำคัญคู่บ้านคู่เมืองของไทยต่อมา พระราชกรณียกิจและพระเกียรติคุณ พระเจ้าศรีธรรมาโศกราชทรงมีพระกรณียกิจและมีพระเกียรติคุณดังนี้ ๑. ทรงเป็นปฐมกษัตริย์ของนครศรีธรรมราชโบราณ และได้เป็นผู้สร้างบ้านแปงเมืองให้เป็นอาณาจักรสำคัญในแหลมอินโดจีน ๒. ได้ทรงสร้างเมืองนครศรีธรรมราชขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. ๑๐๙๘ โดยสร้างกำแพงป้อมปราการโดยรอบทั้งชั้นนอกชั้นใน ด้วยพระปรีชาสามารถของพระองค์ ทำให้นครศรีธรรมราชเป็นมหานครใหญ่และมีอำนาจมาก มีเมืองขึ้น ๑๒ หัวเมืองเรียกว่า ๑๒ นักษัตร ตั้งอยู่โดยรอบพระราชอาณาเขต โดยกำหนดให้ใช้สัตว์ประจำปีเป็นตราเมืองแต่ละเมือง ๓. ได้ทรงสร้างพระบรมธาตุเจดีย์ขึ้นบนหาดทรายแก้ว ซึ่งนับเป็นปูชนียสถานอันสำคัญในสมัยต่อมาตราบจนปัจจุบัน ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก : http://www.kontaiclub.com/
ด้านหลังสวนมเสาชิงช้าด้วยครับ
จากสวนสาธารณะศรีธรรมโศกราช เราสามารถเดินข้ามสะพานนี้ลัดสนามหน้าเมือง เพื่อไปสักการะศาลหลักเมืองนครศรีธรรมราชได้ครับ แต่ไปกับรถดีกว่าเพราะว่าร้อนมากเลยครับถ้าเดิน 555
ศาลหลักเมืองนครศรีธรรมราช อันเป็นที่ประดิษฐานหลักเมืองของจังหวัดนครศรีธรรมราช ตั้งอยู่ในอำเภอเมือง บริเวณทิศเหนือของ สนามหน้าเมือง มีเนื้อที่ประมาณ ๒ไร่ มีอาคารทั้งหมด 4 หลัง หลังกลางเป็นที่ประดิษฐานของศาลหลักเมือง ออกแบบให้มีลักษณะ คล้ายศิลปะศรีวิชัย เรียกว่าทรงเหมราชลีลา ส่วนอาคารเล็กทั้งสี่หลัง ถือเป็นบริวารสี่ทิศ เรียกว่าศาลจตุโลกเทพ ประกอบด้วย พระเสื้อเมือง ศาลพระทรงเมือง ศาลพระพรหมเมืองและศาลพรบันดาลเมือง วางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ ๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๒ ส่วนอาคารเล็ก ๔ หลัง ถือเป็นบริวารประจำทิศทั้ง ๔ เรียกว่า ศาลจตุโลกเทพ ประกอบด้วย พระเสื้อเมือง , พระทรงเมือง , พระพรหมเมือง , และ พระบันดาลเมือง วางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ ๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ เสร็จสมบูรณ์ในปี พ.ศ. ๒๕๔๒ ผู้ออกแบบอาคารศาลหลักเมืองคือ ยุทธนา โมรากุล
ที่นี่เปรียบเสมือนสิ่งศักดิ์สิทธิ์คอยปกป้องรักษาบ้านเมืองให้พ้นจากภัยอันตรายต่างๆ เราคงเคยรับรู้ถึงความศักดิ์สิทธิ์ ของศาลหลักเมือง จากคำลือมาหลายต่อหลายครั้ง ผ่านองค์จตุคามรามเทพ เทวดารักษาเมือง ซึ่งอยู่บนเสาสูงสุดของหลักเมือง
หลากหลายเรื่องราว ที่เล่าจากประสบการณ์ที่ได้พบมาของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการสร้างศาลหลักเมือง เริ่มตั้งแต่องค์เสาหลักเมืองทำด้วยไม้ตะเคียนทอง ที่ได้มาจากภูเขายอดเหลืองภูเขาลูกหนึ่งในทิวเขานครศรีธรรมราช คณะตัดฟันได้ตัดต้นตะเคียนเหลือความยาว 4 เมตร ต้องใช้ช้าง ชักลาก ลงมาจากยอดเขา เมื่อช้างชักลากตอนแรกไม้ตะเคียนทองไม่ยอมขยับเขยื้อน แต่เมื่อคณะตัดฟันได้จุดธูปบอก กล่าวช้างก็ สามารถชักลากได้ตามปกติ
วันแรกที่แห่เสาหลักเมืองที่แกะสลักและตกแต่งเสร็จแล้ว ลงเรือศรีวิชัยโบราณจำลองจาก บ้านพักผู้กำกับฯ ไปยังหน้าวิหารหลวง ขณะที่อัญเชิญเสาหลักเมืองจากเรือจำลองลงตั้งพื้นลานหน้าวิหารหลวงนั่นเองได้เกิด ปรากฏการณ์พระอาทิตย์ ทรงกลด ณ ที่นั้นทันทีอย่างน่าอัศจรรย์ วันนั้นได้เกิดฝนตกหนักมากในเขตภูเขาต้นน้ำทางตะวันตกของเมือง เป็นเหตุให้น้ำป่าไหลเกือบ ล้นฝั่งคลองท่าดีและคลองพรหมโลก วัวควายที่ชาวบ้านล่ามไว้ในคลองตายไปหลายตัว ทั้งที่ช่วงนั้นเป็น หน้าแล้ง หรือแม้แต่ การประกอบพิธีกรรม ที่เกี่ยวกับหลักเมืองนครศรีธรรมราช โดยเฉพาะพิธีกลางแจ้ง มักจะมีฝนโปรยเม็ดพรำๆ แทบทุกครั้งในพิธีกรรม ต่างๆและอีกหลายเรื่องราวอัศจรรย์อีกมากมายที่อาจจะพิมพ์เล่าให้ทุกคนฟังได้หมด
พระราหู
ใกล้ๆกับศาลหลักเมืองมีหอพระสูง ตั้งอยู่บนเนินขนาดย่อม แต่ไม่ได้เปิดให้เข้าชมนะครับ ถ้าอยากเข้าชมต้องทำหนังสือไปทีกรมศิลปากรเป็นกรณีพิเศษก่อนครับ เลยชมได้แค่วิหารหลังคาสีแดงสดข้างนอกครับ เท่าที่หาในเน็ทดูภายในก็มีพระพุทธรูปปางมารวิชัยองค์ใหญ่ประดิษฐานอยู่ครับ
เบอร์ติดต่อตามนี้ครับ
ที่ถัดไปที่จะพาไปชมคือพระเจดีย์ยักษ์นะครับ
พระเจดีย์ยักษ์ แต่เดิมนั้นอยู่ในวัดพระเงิน ซึ่งปัจจุบันอยู่ในเขต ตำบลคลัง อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช ข้างสำนักงานเทศบาลนครศรีธรรมราช เป็นเจดีย์สูงใหญ่รองจากเจดีย์พระบรมธาตุ บริเวณวัดเจดีย์เดิมซึ่งร้างไปแล้ว สันนิษฐานว่าสร้างโดยโคทคีรีเศรษฐีชาวมอญ กับบริวารที่อพยพหลบภัยมาอาศัยเมืองนครศรีธรรมราช เมื่อประมาณ ปี 1546 ปัจจุบันวัดร้างเหลือเพียงเจดีย์ตามที่เห็นอยู่ในภาพ
มีนิทานเล่าขานตำนานเรื่องระหว่างเจดีย์ยักษ์นี้ กับพระธาตุเจดีย์ เล่าว่า สมัยโบราณปรากฎว่ามียักษ์ตนหนึ่งเข้ามายังเมืองนครศรีธรรมราช ต้องการจับคนในเมืองกินเป็นอาหาร ระหว่างนั้นทางชาวเมืองกำลังก่อสร้างเจดีย์พระธาตุอยู่ ชาวบ้านจึงขอร้องยักษ์ตนนั้นว่าอยากสร้างเจดีพระธาตุให้เสร็จก่อนแล้วจะยอมให้กินเป็นอาหาร ทันใดนั้นก็มีชายผู้หนึ่งนึกพิเรนจึงท้าเจ้ายักษ์ตนนั้นว่าถ้าแน่จริงให้มาแข่งกันสร้างเจดีย์ เจ้ายักษ์ก็รับปาก เวลาผ่านไปเจ้ายักก็เริ่มสร้างเจดีย์ ทางยักษ์ตนนั้นใช้เวลาไม่นานก็สร้างเจดีย์กำลังจะเสร็จแล้ว ทางชาวเมืองเห็นว่ายังไงก็คงไม่มีทางสร้างเสร็จก่อนเจ้ายักษ์แน่ๆ จึงคิดอุบายนำผ้าสีเหลืองมาห่มเจดีย์พระธาตุ ด้วยระยะห่างระหว่างพระธาตุกับเจดีย์ยักษ์ทำให้เจ้ายังมองไปเห็นเหมือนว่าชาวเมืองสร้างเจดีเสร็จก่อนตนจึงเกิดโมโหอย่างมาก ด้วยความโกรธจึงใช้มือทุบยอดเจดีย์ของตนที่กำลังจะเสร็จจนยอดหัก แล้วด้วยความอับอายยักษ์ตนนั้นจึงวิ่งออกจากเมืองไป ชาวเมืองดีใจเป็นอย่างมากจึงเกิดประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน
ดูในรูปเหมือนจะเป็นเจดีย์เล็กๆนะครับ แต่เวลาเดินรอบๆก็รู้สึกได้เลยว่าองค์เจดีย์นี้มีขนาดใหญ่มากเลยทีเดียวครับ
มีรอยซากอิฐปรักหักพังเต็มเลยครับ เป็นอิฐเดิมก่อนหน้าที่จะมีการบูรณะซ่อมแซมครับ
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช เคยได้รับรางวัลอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยดีเด่นในปี 2551 ได้ทำการสร้างขึ้นมาเนื่องจากว่าในช่วงของรัฐบาลในอดีตที่ได้เห็นถึงความสำคัญขอบงการเก็บรวบรวมโบราณวัตถุและศิลปะวัตถุซึ่งเรียกได้ว่าเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติที่มีความประสงค์ที่จะจัดเก็บทุกอย่างรวมเอาไว้ในที่เดียวกัน ภายหลังรัฐฯจึงได้มีการอนุมัติงบประมาณให้ทางกรมศิลปากรได้จัดทำอาคารแห่งนี้ขึ้นมา ทั้งนี้เพื่อเป็นที่จัดแสดงโบราณวัตถุตามหลักของสากลและอีกทั้งยังเป็นแหล่งที่สามารถอำนวยความสะดวกให้กับนักศึกษา นักเรียนหรือผู้ที่มีความสนใจได้เข้ามาทำการค้นคว้าหาความรู้ที่แห่งนี้ได้ ต่อมาเมื่อวันที่ 26 ส.ค. 2517 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ร.9 พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถได้ทรงเสด็จพระราชดำเนินเพื่อประกอบพิธีเปิดพิพิธภัณฑ์แห่งนี้และถือได้ว่าที่แห่งนี้เป็นพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติในภูมิภาคเป็นแห่งที่6 และในส่วนของทางด้านภายในของตัวอาคารจะมีการแบ่งการจัดแสดงดังนี้
1. ห้องก่อนประวัติศาสตร์ จะเป็นห้องที่มีการจัดแสดงโบราณวัตถุที่ค้นพบในเขตของทางภาคใต้อย่างเช่น กลองมโหระทึก /เครื่องมือหิน / เครื่องปั้นดินเผาต่าง ๆ /ลูกปัดหลากหลายรูปแบบ เป็นต้น
2. ห้องศาสนาพราหมณ์ ฮินดู ที่จะเป็นเกี่ยวกับความเปลี่ยนแปลงทางด้านของสังคมและวัฒนธรรมซึ่งกำเนิดขึ้นจากการเริ่มต้นติดต่อค้าขายกับทางดินแดนภายนอกที่มีวัฒนธรรมรวมไปถึงพวกเทคโนโลยีที่ก้าวล้ำอันส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านของการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมซึ่งได้มีการปรากฎทางด้านของหลักฐานเกี่ยวกับการตั้งถิ่นฐานของชาวอินเดียที่ได้นำมาซึ่งวัฒนธรรมทางศาสนาไม่ว่าจะเป็นทั้ง ฮินดู พราหมณ์ พุทธศาสนาและตั้งแต่ในช่วงของพุทธศตวรรษที่เป็นต้นมาที่โดยเฉพาะพราหมณ์ /ฮินดู รวมทั้งลัทธิไศวนิกายและไวษณพนิกายที่นับได้ว่าเจริญรุ่งเรืองควบคู่ไปกับ ทางด้านของศาสนาในคาบสมุทรภาคใต้
3. ห้องศาสนาพุทธ ที่จะเกี่ยวข้องกับหลักฐานทางด้านของประวัติศาสตร์ที่ได้มีการจัดแสดงเกี่ยวกับการเข้ามาของพระพุทธศาสนาในดินแดนคาบสมุทรเอเชียนาคเนย์ โดยจากตำนานการเผยแพร่พระพุทธศาสนานของพระเจ้าอโศกซึ่งได้มีการชี้ให้เห็นได้อย่างชัดเจนว่ามีการติดต่อแลกเปลี่ยนทั้งทางด้านของวัฒนธรรมและวิถีต่าง ๆ ไปจนถึงพวกผลิตภัณฑ์ ผลิตผลนานาชนิดรวมไปถึงเรื่องของความเชื่อและความศรัทธา ศาสนาก่อนที่จะมีการกำเนิดขึ้นมาเป็น ศาสนาพราหมณ์และศาสนาพุทธนั่นเอง
4. ห้องประณีตศิลป์ เรียกได้ว่าจังหวัดนครศรีธรรมราชได้เคยมีปติสัมพันธ์ไมตรีกับประเทศในแถบทวีปเอเชียและยุโรป ทั้งเรื่องของเศรษฐกิจการค้าที่ได้มีการค้นพบเครื่องถ้วยต่าง ๆ มากมายที่ได้มีการนำมาจัดแสดงเอาไว้ ณ ที่แห่งนี้ เช่น เครื่องถ้วยไทยตั้งแต่สมัยศรีวิชัย อยุธยา ลพบุรี ไปจนถึงรัตนโกสินทร์และยังมีเครื่องถ้วยญี่ปุ่น เครื่องจักสานย่านลิเภา เป็นต้น
5. ห้องพระรัตนธัชมุนีศรีธรรมราช เป็นห้องที่ได้มีการจัดแสดงเครื่องบริขารส่วนตัวของพระรัตรนธัชมุนี ฯ เจ้าคณะมณฑลในสมัยของรัชกาลที่ 5 และอดีตเจ้าอาวาสวัดโพธิ์อย่างเช่น เครื่องมุก เตียงไม้สลักลวดลาย ของที่ระลีกในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกรัชกาลที่ 6 เป็นต้น
6. ห้องภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่เป็นห้อง 2 ห้องมีการจัดการแสดงเกี่ยวกับวิถีชีวิตของคนนครศรีฯ ตั้งแต่เกิดรวมไปถึงการศึกษา แต่งงานและอุปสมบทอีกทั้งยังมีในส่วนของอาหารอิสลาม ไม่เพียงเท่านั้นยังมีเรื่องของเนื้อหาต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการสร้างหลักปักฐาน สร้างบ้านเรือนต่าง ๆ เครื่องใช้ต่าง ๆ เช่น เครื่องมือในการทำสวน เกษตร การรักษาพยาบาล การทำศพ ฯลฯ
7. อาคารโถงจัดแสดงเรื่องศาสนาพราหมณ์ในรัฐตามพรลิงค์ ที่ได้มีการค้นพบหลักฐานเกี่ยวกับโบราณศาสนาวัตถุของศาสนาพราหมณ์อย่างเช่น ฐานโยนิโทรณะ โบราณวัตถุจากวัดโพธิ์ซึ่งในปัจจุบันเสาประดับกรอบประตูรวมไปถึงฐานบัวจากโบราณสถานเขาคาพบศิวลึงค์ธรรมชาติจากภูเขาและยังมีโบราณสถานโมคลานได้ค้นพบพวกชิ้นส่วนประกอบของประตู
ภายนอกอาคารพิพิธภัณฑ์มีปืนใหญ่ยุคโบราณขนาดต่างๆให้ชมด้วยครับ
สมอเรือยักษ์
ใบเสมาเก่า
ปล.พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติปิดวันจันทร์และวันอังคารนะครับ ค่าเข้าชม 30 บาท รบกวนจ่่ายเพิ่มเองนะครับ ถ้าทัวร์วันจันทร์ วันอังคาร ก็มาถ่ายรูปกับปืนใหย่ก็พอครับถ้างั้น 555
ที่ถัดไปที่จะพาไปคือวัดนางพระยาครับ วัดนี้ไม่ได้อยู่ในเมืองนะครับ แต่ก็ยังอยู่เขตอำเภอเมืองนครศรีธรรมราชก่อนถึงปากนคร จุดเด่นของวัดนี้คือมีองค์พระราหูทรงครุฑ หนึ่งเดียวในภาคใต้ครับ
โดยอาจารย์ลักษณ์ราชสีห์แนะนำให้มากราบไหว้พระราหูทรงครุฑที่นี่จะเกิดสิริมงคลแก่ตัวท่านเองครับ
เทพพระราหูทรงครุฑ พระโพธิสัตว์ หนึ่งเดียวในภาคใต้ ณ วัดนางพระยา จ.นครศรีธรรมราช “เทพพระราหูทรงครุฑ” เกิดจากการที่องค์พระศิวะมหาเทพได้ปรึกษากับองค์พระพรหม และองค์พระนารายณ์ สร้างเทวดานพเคราะห์ ๙ พระองค์ และ ๑ในเทวดานพเคราะห์องค์สำคัญก็คือ “เทพพระราหู” องค์พระศิวะ ทรงนำเอา หัวผีโขมด ๑๒ หัว มาป่นให้เป็นผงแล้วห่อด้วยผ้าสีสำริด (สีทองแดง) ประพรมด้วยน้ำอัมฤทธิ์ (น้ำที่กวนจากเกษียรสมุทรโดยพระศิวะประกาศหย่าศึกเทพและอสูร ในขณะที่มีสงครามระหว่างกันและให้ไปร่วมกันกวนน้ำอัมฤทธิ์ โดยใช้เขามันทะ มีพญานาควาสุกรีเปรียบประดุจเชือกในการดึงเขาเพื่อกวนน้ำอัมฤทธิ์และเมื่อกวนเสร็จให้เทพและอสูรมีสิทธิ์ดื่มกินน้ำอัมฤทธิ์เท่าเทียมกัน)
ในวัดนี้ก็จะมีองค์จตุคามรามเทพองค์ใหญ่อยู่ด้วยนะครับ
เทพพระราหูทรงครุฑครับ
รูปปั้นนางพระยาครับ
ประวัตินางพระยาครับ
อีกนัยหนึ่งประวัติวัดนางพระยา กล่าวว่า ต้นกำเนิดตำนานการสร้างหลักเมืองนครศรีธรรมราช วัดนางพระยา ตั้งอยู่ที่ตำบลปากนคร อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช มีประวัติความเป็นมายาวนานหลายร้อยปี ตัววัดตั้งอยู่ริมแม่น้ำปากนคร ที่ต่อเชื่อมระหว่างทะเลกับเมืองนครศรีธรรมราช เป็นแม่น้ำสายสำคัญทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม ของประวัติศาสตร์นครศรีธรรมราช แต่เดิมเมื่อพันปีก่อนบริเวณวัดนางพระยามีชัยภูมิที่ดี จึงได้ถูกกำหนดให้เป็นท่าเรือขนส่งสินค้า รวมทั้งเรือรบของอาณาจักรในสมัยโบราณ ฉะนั้นโดยรวมแล้ว พื้นที่แห่งนี้จึงมีความสำคัญทางประวัติศาสน์มาตั้งแต่เดิม ต่อมามีกษัตริย์ในอดีตพระองค์หนึ่งสร้างวัดในพระพุทธศาสนา ตามพระราชประเพณีโบราณที่สืบมา โดยได้พระราชอุทิศให้กับพระราชมารดา หรือที่เรียกตามภาษาโบราณว่า “แม่เจ้าอยู่หัว” “แม่เจ้าเมือง” หรือ “แม่นางพระยา” ตามตำนานยังได้กล่าวถึงพระนางจันทรา นางพระยาทะเลใต้อีกด้วยโดยมีชื่อวัดว่า “วัดนางพระยา” ดังปฐมเหตุแห่งที่มาของวัดนี้ ซึ่งนัยความหมายคือ วัดของแม่เจ้าเมือง เป็นความแสดงความกตัญญูต่อพระราชมารดา ต่อมาภายหลังได้ปรากฏว่ามีการตั้งรูปของ “แม่นางพระยา” เป็นศิลปะแบบทวารวดีขึ้น และผู้เฒ่า ผู้แก่ได้บอกเล่าว่ามีมานานแล้วเป็นคู่กับวัดนางพระยากล่าวกันว่าเป็นเทพชั้นสูง ที่มีคุณธรรมและความเมตตามาก เป็นที่กล่าวขานเลื่องลือมาช้านาน ผู้สัญจรไปมาในแม่น้ำหน้าวัด หรือจะเดินทางออกทะเล เมื่อผ่านหน้าวัดนางพระยาก็ต้องยกมือไหว้ทุกครั้ง เป็นเช่นนี้มาตั้งแต่บรรพบุรุษ จวบกระทั่งปัจจุบัน
ในวัดนี้ก็มีหลวงพ่อทันใจด้วยครับ ขอพรให้สมดั่งปรารถนา
ถัดจากหลวงพ่อทันใจก็มีศาลพญานาคครับ
อุโบสถวัดนางพระยาครับ
วัดอยู่ติดริมแม่น้ำเลยครับ บรรยากาศก็เงียบสงบดีครับ
มีบริการนวดด้วยนะครับที่วัด เผื่อใครเที่ยวเหนื่อยอยากแวะพักผ่อนคลาย
ที่สุดท้ายของทริปวันนี้คืออ่าวปากนครนะครับ
ตามประวัติบอกว่า ตำบลปากนครเมื่อสมันก่อนการเดินทางเข้าสู่ตัวตัวเมือง ซึ่งชาวบ้านทั่วไปเรียกว่า "นคร" ต้องใช้เรือเข้าทางปากคลองสู่ตัวเมือง ชาวบ้านจึงเรียกท่าเรือหรือปากคลองว่า "ปากนคร" ซึ่งหมายถึงปากทางเข้าสู่เมือง ตำบลปากนครมีจำนวนหมู่บ้านทั้งหมด 6 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ที่1บ้านปากน้ำ หมู่ที่2 บ้านปากนครบน หมู่ที่3 บ้านนางพระยา หมู่ที่4 บ้านตากแดด หมู่ที่5 บ้านคันธง หมู่ที่6 บ้านคลองขุด
น่าจะทำไว้เพื่อเป็นการดักจับสัตว์น้ำอะไรบางอย่างครับ
มีเรือหายาวของชาวบ้านด้วยครับ ตรงนี้ก็มีร้านอาหาร สามารถหาอาหารรับประทานได้ครับ
เสร็จทริปแล้วก็พากลับโรงแรมหรือพากลับสนามบินครับผม
ไลน์ไอดี : tournakhonsi
ใครเบื่อๆอยากเที่ยว แต่ไม่มีแนวร่วม อยากให้ผมพาเที่ยวแบบส่วนตัวไพรเวทเสมือนเพื่อนพาเที่ยวแบบนี้ติดต่อกันได้เลยครับ พาเที่ยวทั้งวันไม่เบื่อแน่นอนครับ รับลูกค้าทุกเพศทุกวัยจำนวนมากครับ แค่นั่งมอเตอร์ไซต์ผมได้ก็โอเคแลวครับ อาจจะต้องปีนหน่อย ดูรูปด้านล่างเลยครับ พ่อผมอายุ 70 ปีแล้วยังไปเที่ยวสำรวจเส้นทางกับผมกับคันนี้ได้เลยครับ
ทริปนี้ผมคิดแค่ 500 บาทครับ ราคานี้รวมน้ำมันแล้วนะครับ (รับเงินสดนะครับ รูดบัตรไม่ได้)
โฉมหน้าคนพาเที่ยวครับ รูปผมเอง 555 (ชื่อเอกครับ)
รับส่งจากตัวเมืองนครศรีธรรมราช หรือสนามบินนครศรีธรรมราชได้เลยครับ ถ้าบินมา แจ้งเที่ยวบินผมในไลน์ได้เลย (เดินทางเที่ยวบินเช้าๆหน่อยก็ดีนะครับ จะได้เหลือเวลาเที่ยวเยอะๆ ทัวร์นี้เช้าไปเย็นกลับสนามบินนครศรีธรรมราชยังได้เลยครับ)
• ตารางเที่ยวบินแนะนำ |
||||
สายการบิน |
ดอนเมือง -
นครศรีธรรมราช |
นครศรีธรรมราช -
ดอนเมือง |
||
เวลาออก |
เวลาถึง |
เวลาออก |
เวลาถึง |
|
นกแอร์ |
06.00 |
07.10 |
20.35 |
21.40 |
แอร์เอเชีย |
06.55 |
08.15 |
20.05 |
21.10 |
แต่ถ้าไม่อยากกลับดึกมากก็มีเที่ยวบินเย็นๆครับ แต่อาจต้องทำเวลาทัวร์หน่อย
• ตารางเที่ยวบินแนะนำ |
||||
สายการบิน |
ดอนเมือง -
นครศรีธรรมราช |
นครศรีธรรมราช -
ดอนเมือง |
||
เวลาออก |
เวลาถึง |
เวลาออก |
เวลาถึง |
|
นกแอร์ |
06.00 |
07.10 |
17.40 |
18.50 |
แอร์เอเชีย |
06.55 |
08.15 |
16.15 |
17.45 |
ไทยไลอ้อนแอร์ |
08.15 |
09.35 |
18.25 |
19.45 |
รบกวนจองล่วงหน้าสัก 2- 3 วันนะครับจะได้จัดคิว เพราะรับลูกค้าได้แค่วันละ 1 ท่านครับ
ในแต่ทริปรบกวนหาข้าวกินเองนะครับ คือมีเวลาให้กิน หาร้านให้ หรือจะไปหาร้านเองก็ได้หมดครับ ไม่ต้องเลี้ยงผม ผมเตรียมอาหารไปกินเองแล้วครับ
ผมมีหมวกกันน็อคแบบเต็มใบให้ครับ หมวกสะอาดใหม่ ไม่เหม็น ขับรถไม่ถึงกับเร็วมาก ปลอดภัยแน่นอนครับ รถมอเตอร์ไซต์ใช้ Kawasaki Z300 มีกระเป๋าหลังให้เก็บของตามรูปครับ ถ้าให้รับจากสนามบิน เอาเป้เล็กๆมาก็พอนะครับ ไม่ต้องพกกระเป๋าเดินทางใบใหญ่มา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น